เจ้าของผลงาน : ปพิชญา พรมจันทร์
ความเป็นมา โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญเกือบทุกประเทศทั่วโลก หาก
ควบคุมไม่ได้ในระดับที่เหมาะสม จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ดังนั้นการใช้โปรแกรมเพื่อให้ความรู้และ
ส่งเสริมการจัดการตนเองได้อย่างถูกต้อง ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้น ลด
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน และเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร (FBS) และระดับน้ำตาลสะสม
(HbA1C) ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ ที่ได้รับการรักษาในโปรแกรมการจัดการตนเอง
วิธีการศึกษา การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง จากเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ มีระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร (FBS) มากกว่าหรือเท่ากับ 200
มก./ดล.หรือ ระดับน้ำตาลสะสม (HbA1C) มากกว่าหรือเท่ากับ 10 เปอร์เซ็นต์ได้เข้ารับการรักษาในโปรแกรม
การจัดการตนเอง ในระยะ 4 เดือน ที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลมุกดาหาร
ผลการศึกษา ข้อมูลผู้ป่วย 47 ราย อายุเฉลี่ย 60.9(±10.0) ปีส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 31 คน (ร้อยละ 66.0)
ดัชนีมวลกายเฉลี่ย 26.9(±4.5) กก./ตร.ม. ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการจัดการตนเอง ระดับน้ำตาลในเลือดขณะ
อดอาหาร (FBS) เฉลี่ย 215.9(±47.6) มก./ดล. ระดับน้ำตาลสะสม (HbA1C) เฉลี่ย 11.6(±2.2) เปอร์เซ็นต์
หลังเข้าร่วมโปรแกรมการจัดการตนเอง ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร (FBS) เฉลี่ย 129.8(±32.6) มก./
ดล. ระดับน้ำตาลสะสม (HbA1C) เฉลี่ย 7.8(±1.4) เปอร์เซ็นต์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(p<.001)
สรุป ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้เมื่อรับการดูแลในโปรแกรมการจัดการตนเอง ผล
การควบคุมดีขึ้น สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร (FBS) และระดับน้ำตาลสะสม (HbA1C) ได้
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
คำสำคัญ เบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ โปรแกรมการจัดการตนเอง
เอกสารแนบ
ชนิดเอกสาร | ลิงค์ไฟล์เอกสาร |
---|---|
ลิงค์เอกสาร |