การพยาบาลหญิงหลังคลอดที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย

เจ้าของผลงาน : นางนัทธ์หทัย สุวรรณไขศรี

โรงพยาบาลมุกดาหารพบมารดาหลังคลอดได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด (peripartum cardiomyopathy: PPCM) 2 ราย ผู้ศึกษามีความสนใจ ศึกษาพยาธิสรีรวิทยาของโรค การดูแลรักษา และการพยาบาล เปรียบเทียบกับกรณีศึกษาทั้งสองราย โดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบกับทฤษฎี และเปรียบเทียบการพยาบาลทั้ง 2 ราย
ผลการศึกษา พบว่าทั้งสองรายมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค PPCM คือความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ครรภ์เป็นพิษ และการติดเชื้อในร่างกาย รายแรกมีปัจจัยส่งเสริมคือ การตั้งครรภ์แฝด น้าหนักเพิ่มมาก มารดาอายุมาก และมีการตั้งครรภ์หลายครั้ง รายที่สองมีปัจจัยส่งเสริมคือ ภาวะโลหิตจาง ไทรอยด์เป็นพิษ และน้าหนักเพิ่มมาก ทั้งสองรายเริ่มมีอาการของโรคเมื่อตั้งครรภ์ประมาณ 32 สัปดาห์ มีอาการนาคือเจ็บครรภ์คลอดก่อนกาหนด ให้คลอดด้วยการผ่าตัดคลอด มีอาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลว การตรวจ echocardiogram มีค่า LVEF ต่าร้อยละ 20 และร้อยละ 40 ตามลาดับ การรักษาในรายแรก ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ รายที่สองได้รับออกซิเจนอัตราไหลสูง และการรักษาประคับประคอง ทั้งสองรายมีระยะเวลานอนโรงพยาบาล 15 วัน การพยาบาลที่สาคัญแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะแรกรับ ระยะต่อเนื่อง ระยะวิกฤต และระยะจาหน่าย ทั้งการพยาบาลเฉพาะทางสูติกรรม และด้านอายุรกรรม ได้ทาการประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน เป็นแนวทางในการประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วยทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ มาใช้ในระยะแรกรับ ระยะต่อเนื่อง และระยะวิกฤติ นาทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม มาประยุกต์ใช้ในระยะจาหน่าย เพื่อส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ผู้ป่วยจาเป็นต้องดูแลตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการกาเริบของโรคและการเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยเน้นการส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเอง ปรับพฤติกรรมให้ถูกต้องและเหมาะสม สรุป บุคลากรที่ดูแลหญิงตั้งครรภ์ทั้งในชุมชนและโรงพยาบาล ควรมีการคัดกรองภาวะ PPCM โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีครรภ์เป็นพิษ ตั้งครรภ์แฝด และติดเชื้อโควิด19 ควรศึกษาวิจัยเกี่ยวกับอุบัติการณ์ของภาวะ PPCM ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีครรภ์เป็นพิษ หรือติดเชื้อโควิด19 เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการดูแลหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงสูงต่อไป

เอกสารแนบ

ชนิดเอกสาร ลิงค์ไฟล์เอกสาร
.pdf ลิงค์เอกสาร