เจ้าของผลงาน : นางนิศารัตน์ สุวะศรี
ความสำคัญ วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่แพร่กระจายทางอากาศ
องค์การอนามัยโลกจัดให้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศที่มีปัญหาวัณโรครุนแรง ปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียดื้อยาเป็นปัญหาสำคัญ
เป็นภัยคุกคามกับผู้ป่วยและระบบสุขภาพทั่วโลก
วัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบการดำเนินของโรค
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล การวางแผนการปฏิบัติการพยาบาล
และผลลัพธ์การพยาบาลในผู้ป่วยวัณโรคที่มีปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียดื้อยา
วิธีการศึกษา
กรณีศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยวัณโรคที่มีปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียดื้อยาที่มารับบริการที่หอผู้ป่วยโรคติดเชื้อ
โรงพยาบาลมุกดาหาร จำนวน 2 ราย ในช่วง มีนาคม 2567 ถึงกันยายน 2567
เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยข้อมูลจากเวชระเบียน การชักประวัติผู้ป่วยและญาติ
ทบทวนข้อมูลกับผู้เชี่ยวชาญ ทีมสหสาขาวิชาชีพ และเครือข่ายงานวัณโรค
การใช้กระบวนการพยาบาลกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ใช้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน กรอบแนวคิดการพยาบาลของโอเริ่ม
ผลการศึกษา
กรณีศึกษารายที่
1 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 46ปี ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาด้วยอาการเหนื่อยเพลีย
ไอเป็นเลือดมา 1 วัน แพทย์วินิจฉัย วัณโรคปอด ปอดอักเสบจาก Klebsiella pneumoniae
(ESCR) การหายใจล้มเหลว และโซเดียมในเลือดต่ำ ได้รับการรักษาด้วยการใส่ท่อช่วยหายใจ
ใช้เครื่องช่วยหายใจ ได้รับยารักษาวัณโรค ยาปฏิชีวนะ ย้ายเข้าหอผู้ป่วยวิกฤติ อาการผู้ป่วยดีขึ้นตามลำดับ
และสามารถจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้านได้
กรณีศึกษารายที่
2 ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 35 ปี ผู้ป่วยเข้ารักษาด้วยอาการปวดศีรษะร่วมกับมีอาเจียน
ก่อนมาโรงพยาบาล 1 วัน มีประวัติสัมผัสวัณโรคเนื่องจากมารดาเสียชีวิตจากวัณโรคดื้อยา
แพทย์วินิจฉัย วัณโรคปอด เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อวัณโรค ปอดอักเสบจาก Acinetobacter
baumannii (MDR) และโซเดียมในเลือดต่ำ ได้รับยารักษาวัณโรค ยาปฏิชีวนะ อาการผู้ป่วยดีขึ้นตามลำดับ
สามารถจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้านได้
สรุป ผู้ป่วยวัณโรคมีโรคร่วมปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียดื้อยา
พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการเฝ้าระวังความเสี่ยง
จัดการระบบการป้องกันและแพร่กระจายเชื้อในหน่วยงาน ติดตามผู้ป่วย
ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการประเมินและดูแลผู้ป่วย
คำสำคัญ :
วัณโรคปอด ปอดอักเสบ เชื้อแบคทีเรียดื้อยา
เอกสารแนบ
ชนิดเอกสาร | ลิงค์ไฟล์เอกสาร |
---|---|
ลิงค์เอกสาร |