การพยาบาลผู้ป่วยครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรงที่ได้รับยาระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดคลอดบุตร: กรณีศึกษา 2 ราย

เจ้าของผลงาน : ปัญจมาภรณ์ โสดา

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยครรภ์เป็นพิษเพื่อทำผ่าตัดคลอดบุตร

 

วิธีดำเนินการศึกษา: กรณีศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยครรภ์เป็นพิษ เพื่อทำผ่าตัดคลอดบุตรจำนวน 2 ราย ในโรงพยาบาลมุกดาหาร ระยะเวลาการศึกษาระหว่าง พฤษภาคม 2566 ถึง สิงหาคม 2567 โดยศึกษาจากข้อมูลจากเวชระเบียน การซักประวัติตรวจร่างกาย ค้นหาปัญหา โดยใช้แนวคิดทางการพยาบาล FANCAS มาใช้ในการประเมินปัญหาร่วมกับใช้กระบวนการพยาบาล ในการปฏิบัติการพยาบาล วางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบสรุปและประเมิน ผลลัพธ์ทางการพยาบาล

 

ผลการศึกษา: กรณีศึกษารายที่ 1 อายุ 29 ปี การวินิจฉัยครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง ให้ ASA class 3E จาก ตั้งครรภ์ และมีภาวะความดันโลหิตสูง เข้ารับการผ่าตัดคลอดบุตร ได้รับยาระงับความรู้สึกโดยวิธีฉีดยาชาทางช่องไขสันหลังร่วมกับยาแก้ปวดมอร์ฟีน ผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตต่ำ ได้รับการรักษาและแก้ไข หลังผ่าตัดผู้ป่วยปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน รวมระยะเวลาที่รักษาตัวในโรงพยาบาล 9 วัน กรณีศึกษารายที่ 2 อายุ 41 ปี การวินิจฉัยครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง ให้ ASA class 3E จาก ตั้งครรภ์ มีภาวะความดันโลหิตสูง และเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เข้ารับการผ่าตัดคลอดบุตร ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบ general anesthesia ระหว่างผ่าตัด ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน หลังการผ่าตัดสามารถถอดท่อช่วยหายใจได้ รวมระยะเวลาที่รักษาตัวในโรงพยาบาล 5 วัน

 

สรุป: การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการให้ยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยครรภ์เป็นพิษเพื่อทำผ่าตัดคลอดบุตร วิสัญญีพยาบาลจะต้องมีความรู้ในการประเมินผู้ป่วย เตรียมความพร้อมทั้งในระยะก่อนการระงับความรู้สึก ระยะระงับความรู้สึก และหลังให้การระงับความรู้สึก ช่วยให้การทำหัตถการสำเร็จ หลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อน เพื่อให้ ผู้ป่วยมีความปลอดภัย

 

คำสำคัญ: การพยาบาล ยาระงับความรู้สึก ครรภ์เป็นพิษ

เอกสารแนบ

ชนิดเอกสาร ลิงค์ไฟล์เอกสาร
.pdf ลิงค์เอกสาร