เจ้าของผลงาน : ภิญญดา ตั้งตรงมิตร, สุทัสสี ธารประเสริฐ, เรืองอุไร แสนสุข
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่
2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้
วิธีการศึกษา: วิจัยแบบทดลองขั้นต้น
ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ในพื้นที่รับผิดชอบของ
รพ.สต.บ้านเหมืองบ่า ตำบลคำอาฮวน อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ระหว่าง กุมภาพันธ์ 2567- กรกฎาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบคะแนนความรู้ คะแนนพฤติกรรมสุขภาพ และระดับน้ำตาลสะสมในเลือด
HbA1C ก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้สถิติ T (Paired samples T Test)
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 ราย
ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 44 ราย (ร้อยละ 88.0)
อายุเฉลี่ย 52.1(+6.2) ปี ระยะเวลาในการป่วยเป็นโรคเบาหวาน ส่วนใหญ่ 1-5 ปี
26 ราย (ร้อยละ 52.0) ค่าคะแนนความรู้เรื่องโรคเบาหวานของกลุ่มตัวอย่างก่อนการทดลอง
เฉลี่ย 10.66(+1.99) หลังการทดลอง
เฉลี่ย 17.22(+1.43) ค่าคะแนนความรู้หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(p <0.05) ค่าคะแนนพฤติกรรมก่อนการทดลอง เฉลี่ย
26.34(+3.78) หลังการทดลอง เฉลี่ย 35.22(+4.42) ค่าคะแนนพฤติกรรมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(p <0.05) ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด HbA1C ก่อนการทดลอง เฉลี่ย 9.74(+2.18)% หลังการทดลอง เฉลี่ย 9.26(+1.86)%
ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด HbA1C หลังการทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญ
(p <0.05)
สรุป: โปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน มีผลให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่
2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ มีความรู้เรื่องโรคเบาหวานสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม
มีพฤติกรรมสุขภาพดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรม และมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลสะสมในเลือดลดลงต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม
คำสำคัญ: โปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสระบุรี
และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
เอกสารแนบ
ชนิดเอกสาร | ลิงค์ไฟล์เอกสาร |
---|---|
ลิงค์เอกสาร |