เจ้าของผลงาน : ประยงค์ แสวงบุญ
ความสำคัญ
องค์การอนามัยโลกร่วมกับสหประชาชาติได้มีแผนเพื่อยุติวัณโรคให้ได้ภายในปี
พ.ศ. 2573 ประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศทั่วโลกที่มีภาระวัณโรคสูงสุด
ทั้งจำนวนผู้ป่วยวัณโรค และวัณโรคที่พบร่วมกับการติดเชื้อเอชไอวี
รวมถึงวัณโรคดื้อยาหลายขนาน ดังนั้นต้องมีการวินิจฉัยอย่างรวดเร็ว
การรักษาที่เหมาะสม การควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ และการดูแลผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานอย่างครบถ้วน
วัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบการดำเนินของโรค
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล การวางแผนปฏิบัติการพยาบาล
และผลลัพธ์การพยาบาลในผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน
วิธีการศึกษา กรณีศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน
ที่มารับบริการที่คลินิกวัณโรค งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมุกดาหาร จำนวน 2 รายทำการศึกษาในช่วง เดือนมกราคม 2566 ถึง มีนาคม 2567
เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยข้อมูลจากเวชระเบียน
การซักประวัติผู้ป่วยและญาติ ทบทวนข้อมูลกับผู้เชี่ยวชาญทีมสหสาขาวิชาชีพ
และเครือข่ายงานวัณโรค
การใช้กระบวนการพยาบาลกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลใช้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน
กรอบแนวคิดการพยาบาลของโอเร็ม
ผลการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า
กรณีศึกษารายที่ 1
หญิงไทย อายุ 39 ปี ผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรง
Pre extensively drug-resistant tuberculosis (Pre-XDR-TB) ร่วมกับเบาหวานชนิดที่
2 และความดันโลหิตสูง รักษาด้วยสูตรยาวัณโรคระยะยาว (Individualized
longer regimen) ระยะเวลา 18 เดือน ผู้ป่วยและครอบครัวมีความรู้และความเข้าใจในโรคและการรักษาที่ได้รับ
มีจุดมุ่งหมายในการรักษาต้องการหายจากโรคที่เป็น ผลการรักษาหายจากการติดเชื้อวัณโรค
กรณีศึกษารายที่ 2 ชายไทย อายุ 39 ปี ผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน
Multi-drug resistant tuberculosis (MDR-TB) ร่วมกับโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
รับประทานยาไม่สม่ำเสมอ สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และใช้สารเสพติด
มีภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือด รักษาด้วยสูตรยาวัณโรคระยะสั้น (Shorter
all oral) ระยะเวลา 9 เดือน ญาติและผู้ป่วยขาดความรู้ในการปฏิบัติตนเองขณะป่วยเป็นวัณโรค
ผลการรักษาหายจากการติดเชื้อวัณโรค
สรุป พยาบาลต้องสามารถประเมินผู้ป่วยได้ทั้งทางด้านร่างกาย
จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ วางแผนการพยาบาลเพื่อกำกับดูแล และติดตามผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานในชุมชน
ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการประเมินและดูแลผู้ป่วย สามารถทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี
และหายจากโรค
คำสำคัญ: วัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรง
Pre-extensively
drug-resistant tuberculosis (Pre XDR TB), วัณโรคดื้อยาหลายขนาน
Multidrug-resistant tuberculosis (MDR-TB), สูตรยาวัณโรคระยะยาว (Individualized
longer regimen), สูตรยาวัณโรคระยะสั้น (Shorter all oral)
เอกสารแนบ
ชนิดเอกสาร | ลิงค์ไฟล์เอกสาร |
---|---|
ลิงค์เอกสาร |