เจ้าของผลงาน : นพ.นารท เจนประวิทย์
ความสำคัญ:
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเป็นบุคลากรสำคัญในการพัฒนาบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิให้มีคุณภาพ
การพัฒนาคุณภาพชีวิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวให้ดียิ่งขึ้นย่อมส่งผลให้เกิดการทำงานที่มีคุณภาพการบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในโรงพยาบาลย่อมดีขึ้นด้วย
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตระหว่างแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวที่ได้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจังหวัดกับแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน
วิธีการศึกษา: การวิจัยแบบตัดขวาง
ศึกษาในแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว โดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบเอง ประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไป 2) แบบทดสอบมาตรฐานระดับคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกฉบับภาษาไทย 26 ข้อ 3) ความคิดเห็นทั่วไปต่อการเป็นแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ประมวลผลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และใช้สถิติเชิงวิเคราะห์ด้วยค่า Odds ratio และ Pearson’s
Chi-square
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง 199 คน
เป็นแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน 102 คน (ร้อยละ51) และแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจังหวัด
97 คน (ร้อยละ 49) โดยพบว่า อายุเฉลี่ย
ระยะเวลาการทำงานต่อวัน รายได้จากการปฏิบัติงานภาครัฐ
ของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน
เปรียบเทียบกับแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจังหวัด คือ 28.2(±2.1)
กับ 37.4(+2.7) ปี 12.1(+2.2) กับ 8.2(±1.1) ชั่วโมงต่อวัน และ 68,190.9(±10,904.7)กับ 53,208.1(±5702.2) บาทต่อเดือน ด้านคุณภาพชีวิต
พบว่าแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนมีระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมที่ดี
63 คน (ร้อยละ 61.8) แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจังหวัดมีระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมที่ดี
34 คน (ร้อยละ 35.1) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Odds ratio 2.99 (95% CI=1.62-5.57, p-value=0.0002)
สรุป:
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนมีสัดส่วนของแพทย์ที่มีระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมที่ดี
มากกว่าแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจังหวัด
คำสำคัญ : แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว, คุณภาพชีวิต, โรงพยาบาลจังหวัด, โรงพยาบาลชุมชน
เอกสารแนบ
ชนิดเอกสาร | ลิงค์ไฟล์เอกสาร |
---|---|
ลิงค์เอกสาร |