เจ้าของผลงาน : นางสาวมณีวัชราภรณ์ ตังควานิช
ความสำคัญ: โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคทางระบบประสาทที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ
ส่วนใหญ่มีร่องรอยความเสียหายทางระบบสมองหลงเหลืออยู่ หลังการรักษาอาจมีภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยมีโอกาสพิการ
ต้องใช้เวลาในการรักษาต่อเนื่องระยะเวลานาน เสียค่าใช้จ่ายสูง
ส่งผลกระทบต่อครอบครัว ผู้ดูแล และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาว
วิธีการศึกษา: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2
รายในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะอ่อนแรงครึ่งซีก
ได้รับการส่งต่อเพื่อเยี่ยมบ้าน ศึกษารวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน
ข้อมูลจากผู้ป่วยและญาติ วางแผนเพื่อเยี่ยมฟื้นฟูสภาพที่บ้าน
ผลการศึกษา:
กรณีศึกษารายที่ 1 หญิงไทยอายุ 62ปี มีโรคประจำตัวเบาหวานความดันโลหิตสูง
ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้นอนติดเตียงใส่สายให้อาหารทางจมูก
กล้ามเนื้อแขนขาข้างขวาเกรด 0 ข้างซ้ายเกรด 5 ประเมิน ADL เท่ากับ 0 คะแนน
ใส่สายยางให้อาหาร หลังการติดตามเยี่ยมบ้านดูแลช่วยเหลือฟื้นฟูสภาพพบว่า
ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติกิจกรรมประจำวันบางอย่างเช่น แปรงฟัน หยิบแก้วน้ำ
ได้ด้วยตนเอง รับประทานอาหารทางปากได้
นั่งบนรถเข็นโดยญาติช่วยพยุงและยืนโดยไม้เท้า 3 ขาและกำลังฝึกเดิน
ระดับ ADL เท่ากับ 8 คะแนน
กรณีศึกษารายที่ 2
ชายไทยอายุ 76 ปี
ปฏิเสธโรคประจำตัว สูบบุหรี่วันละ 5-6 มวน ดื่มสุราทุกวัน
ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ใส่สายให้อาหารทางจมูก คาสายสวนปัสสาวะ
กล้ามเนื้อแขนขาข้างขวาเกรด 0 ข้างซ้ายเกรด 4 ประเมิน ADL
เท่ากับ 0 คะแนน หลังการติดตามเยี่ยมดูแลช่วยเหลือฟื้นฟูสภาพพบว่า
ผู้ป่วยรับประทานอาหารทางปากได้หยิบแก้วน้ำได้ นั่งบนเตียงโดยญาติช่วยพยุง
ไม่พบข้อติด ผู้ป่วยพูดได้เป็นคำ คาสายสวนปัสสาวะ ระดับ ADL เท่ากับ
2 คะแนน
กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย
ครอบครัวร่วมวางแผนปฏิบัติการดูแลฟื้นฟูสภาพร่างกาย ผู้ป่วยไม่มีภาวะเครียด
ผู้ดูแลมีภาวะวิตกกังวลเกี่ยวกับโรคและภาวะพิการที่เกิดขึ้น
อาการโดยรวมกรณีศึกษาสองรายดีขึ้น
สรุป การติดตามเยี่ยมประเมินผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างต่อเนื่อง
การวางแผนฟื้นฟูสภาพของทีมสหสาขาวิชาชีพอย่างเป็นระบบ การเสริมพลังแก่ครอบครัว
และการให้ความร่วมมือของญาติในการดูแลผู้ป่วยส่งผลให้ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองสามารถฟื้นฟูสภาพร่างกายดีขึ้นผู้ป่วยสามารถปฏิบัติกิจกรรมประจำวันบางอย่างเช่น
แปรงฟัน หยิบแก้วน้ำ ได้ด้วยตนเอง รับประทานอาหารทางปากได้
คำสำคัญ
ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง
การพยาบาลที่บ้าน
เอกสารแนบ
ชนิดเอกสาร | ลิงค์ไฟล์เอกสาร |
---|---|
ลิงค์เอกสาร |