การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ร่วมกับติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายขนาน: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย

เจ้าของผลงาน : นางสาวสุภจิรา อุณวงศ์

กรณีศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยที่มีภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมกับติดเชื้อแบคทีเรีย

ดื้อยาหลายขนาน จำนวน 2 ราย ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมุกดหาร ระยะเวลาการศึกษาเดือน

กุมภาพันธ์ 2565 ถึง มกราคม 2567 กรณีศึกษารายที่ 1 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 57 ปี มาด้วยอาการแขนขาอ่อน

แรงด้านซ้าย พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มีโรคประจำตัวไตวายเรื้อรัง วินิจฉัยเป็นโรคเลือดออกในสมอง ได้รับการ

ผ่าตัดสมอง มีภาวะหายใจล้มเหลว ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ หลังการใส่ท่อช่วยหายใจ 5 วัน มีไข้ 38.3°ซ

ภาพรังสีทรวงอก พบ reticular infiltration ที่ปอดทั้งสองข้าง ผลเพาะเชื้อจากเสมหะ พบเชื้อ

Acinetobacter baumannii (CRAB_MDR) ได้ยาปฏิชีวนะ meropenem รวมระยะเวลารักษาใน

โรงพยาบาล 27 วัน กรณีศึกษารายที่ 2 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 57 ปี มาด้วยอาการปวดแน่นท้อง ไม่มีโรค

ประจำตัว วินิจฉัยเป็นโรคตับอ่อนอักเสบร่วมกับ retroperitoneal abscess ผู้ป่วยมีภาวะ septic shock มี

ภาวะหายใจล้มเหลว ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ ได้รับการผ่าตัดช่องท้อง หลังการใส่ท่อช่วยหายใจ 12 วัน มีไข้

38°ซ ภาพรังสีทรวงอก พบ reticular infiltration ที่ปอดทั้งสองข้าง ผลเพาะเชื้อจากเสมหะ พบเชื้อ

Acinetobacter baumannii (CRAB_MDR) และ Klebsiella Pneumoniae (CRE) ได้ยาปฏิชีวนะ colistin

และ meropenem รวมระยะเวลารักษาในโรงพยาบาล 24 วัน ให้การพยาบาลโดยแนวความคิดประเมินผู้ป่วย

ตามแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน เป็นแนวทางในการประเมินภาวะสุขภาพผู้ป่วยทั้งด้าน

ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลเพื่อวางแผนกิจกรรมการ

พยาบาล รวมทั้งให้การดูแลตามแนวทาง WHAPO และ SHIP bundle สรุปและประเมินผลทางการพยาบาล

เอกสารแนบ

ชนิดเอกสาร ลิงค์ไฟล์เอกสาร
.pdf ลิงค์เอกสาร